วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1201104/Unit_3/Unit_1_01_6.htm

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)

เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งสามารถที่จะประมวลผลงานได้หลาย ๆ คำสั่งและรวดเร็วกว่ามนุษย์มาก การที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ก็จะต้องป้อนคำสั่งให้มันและคำสั่ง นั้นจะต้องเป็นคำสั่งที่คอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย ซึ่งคำสั่งเหล่านั้น เราเรียกว่า ภาษาโปรแกรม เมื่อโปรแกรมถูกป้อนเขาไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะทำงานทีละคำสั่งภาษาที่คอมพิวเตอร์ เรียกว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ้งเป็นเลขฐานสองและจะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
     ภาษา BASIC
เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมและผู้ที่เขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสั้น ๆ ภาษา BASIC รุ่นแรกใช้ interpreter เป็นตัวแปลภาษา ทำให้เขียนโปรแกรม ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย
     ภาษา Pascal
เป็นภาษาระดับสูงที่เอื้ออำนวยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมได้อย่างมีโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาอื่น นิยมใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอน และการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
     ภาษา C
และ C++ ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1201104/Unit_3/Unit_1_01_2.htm
     JAVA
ภาษาใหม่ที่มาแรงที่สุดในปัจจุบัน คงจะไม่มีภาษาไหนที่เทียบได้รับภาษาจาวาซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ ในปี 1991 โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ง่ายต่อการใช้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีข้อผิดพลาด และสามารถใช้กับเครื่องใด ๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นข้อดีของจาวาที่เหนื่อกว่าภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นด้วยจาวาสามารถนำไปใช้กับเครื่องต่าง ๆ โดยไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ ทำให้ไม่จำกัดอยู่กับเครื่องหรือโอเอสตัวใดตัวหนึ่ง แม้ว่าการใช้งานจาวาในช่วงแรกจะจำกัดอยู่กับ World Wide Web (WWW) และ Internet แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจาวาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย
เราได้รู้จักคำว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ และรู้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์ใช้พัฒนาโปรแกรมอะไรบ้างแล้ว วันนี้เราก็จะมารู้จักโปรแกรม Java ซึ่งเป็นโปรมแกรมที่เราไม่ค่อยได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เราจะมาดูว่ามัน คืออะไร และมีไว้ใช้เพื่ออะไร
Java คืออะไร
Java หรือ Java programming language คือภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส C++ โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แล้วภายหลังจึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ จาวาซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน จุดเด่นของภาษา Java อยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้
ภาษา Java เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ( OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior)
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1201104/Unit_3/Unit_1_01_2.htm
การโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP = Object-Oriented Programming)
การเขียนโปรแกรมที่ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ(Objects) แต่ละวัตถุจะจัดเป็นกลุ่มในรูปของคลาส ซึ่งแต่ละคลาสอาจมีคุณสมบัติ การปกป้อง (Encapsulation) การสืบทอด (Inheritance) การพ้องรูป (Polymorphism)
แนวคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP Concepts)
   1. การปกป้อง (Encapsulation)
การรวมกลุ่มของข้อมูล และกลุ่มของโปรแกรม เพื่อการปกป้อง และเลือกตอบสนอง
   2. การสืบทอด (Inheritance)
ยอมให้นำไปใช้ หรือเขียนขึ้นมาทดแทนของเดิม
   3. การพ้องรูป (Polymorphism) = Many Shapes
– Overloading มีชื่อโปรแกรมเดียวกัน แต่รายการตัวแปร (Parameter List) ต่างกัน
– Overriding มีชื่อโปรแกรม และตัวแปรเหมือนกัน เพื่อเขียน behavior ขึ้นมาใหม่
คุณลักษณะเด่นของภาษา Java
–  ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์
–  โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้
–  เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ถึง 4 เท่า และใช้เวลาในการเขียนโปรแกรม น้อยกว่าประมาณ 2 เท่า
–  Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของภาษาจาวา
จุดเด่นของภาษาจาวา
–  ความง่าย (simple)
–  ภาษาเชิงออปเจ็ค (object oriented)
–  การกระจาย (distributed)
–  การป้อ้องกันการผิดพลาด (robust)
–  ความปลอดภัย (secure)
–  สถาปัตัตยกรรมกลาง (architecture neutral)
–  เคลื่อนย้ายง่าย (portable)
–  อินเตอร์พ์พรีต (interpreted)
–  ประสิทธิภาพสูง (high performance)
–  มัลติเธรด (multithreaded)
–  พลวัต (dynamic)
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1201104/Unit_3/Unit_1_01_3.htm
ข้อดีของ ภาษา Java
-  ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
-  โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้
-ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย
- ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น
-  ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้น ด้วยภาษาอื่น เพราะ Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของ
-มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่าง ๆ
Java คืออะไร จาวา คือภาษาคอมพิวเตอร์ สำหรับเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
http://www.mindphp.com/
ข้อเสียของ ภาษา Java
-ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลาง ก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีก ทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile  โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา
-tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS)
http://www.netc.ac.th/wp-content/uploads/2013/06/I_am_a_Programmer.png

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย



www.mailinmobile.com
Social Network คืออะไร...
สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Network ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Network” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกัน
Social Network คือ เครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้าน Social Network บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว)  การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ


http://www.greenbookblog.org/2012/11/16/what-makes-social-networks-tick/

Social Network ตามรูปแบบ  แบ่งได้เป็น
  1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง ปูมดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม  มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก  ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด  ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด  โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน  สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่  ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้  โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ  ติดตาม  หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น
  2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter
  3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์  นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้
http://cdn.hitsocialmedia.co.uk/wp-content/uploads/2014/08/2014-05-06-socialmedia.jpg

Social Network ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น
1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น
2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน  ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้  มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  เว็บรวมนักเขียนนิยาย  เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ  เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ  ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น
3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network)  เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน  คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้  โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง  เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น
http://rack.0.mshcdn.com/media/ZgkyMDEzLzAxLzEwLzAyL2ZhbWlseWdlbmVyLjBkODE0LmpwZwpwCXRodW1iCTEyMDB4NjI3IwplCWpwZw/7c67ec88/fe3/family-generation-tablet-social-network.jpg

พฤติกรรมการใช้งานSocial Network ของคนไทย
   พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มากขึ้น
ข้อดี ข้อเสียของระบบโซเซียลเน็ตเวิร์คที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบัน ปัญหา และทางออก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อดีsocial network
http://noobeer.blogspot.com/2012_02_01_archive.html
  ข้อดี
     1. การสื่อสารข้อมูลไปสู่ผู้คนเป็นจำนวนมากทำได้รวดเร็ว สะดวก และง่าย
     2. ช่องว่างการสื่อสารระหว่างนักการเมืองหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงกับคนธรรมดาทั่วไปน้อยลง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง
     3. ทำให้เกิดการรวมตัวกันในการทำกิจกรรมดีๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
     4. เป็นช่องทางที่ดีในการหางานทำหรือได้คนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานด้วย
     5. สามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ เพราะนักเรียนและนักศึกษามักจะออนไลน์บนเฟซบุ๊ก  สไลด์แนะนำการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอนที่ http://www.slideshare.net/krunapon/ss-7320394
 
http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/
  ข้อเสีย
     1. ไม่มีวิธีการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นเป็นข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่
     2. หลายคนไม่ระวังการใช้โซเชียลมีเดียซึ่งทำให้หลายคนได้ข้อมูลที่ไม่เป็นสาระ หรือเป็นข้อมูลเชิงลบ เช่น การโพสต์ด่าว่าคนอื่น
 
http://km.kmutt.ac.th/pg/blog/phongsri.way/read/6303
  ปัญหา
     1. หลายคนมักโพสต์ข้อความที่ไม่สุภาพ ไม่เป็นจริง หรือมีผลกระทบผู้อื่นในทางลบ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
     2. หลายคนมักโพสต์ข้อมูลส่วนตัวซึ่งผู้อื่นอาจจะใช้ข้อมูลนั้นในทางที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะ ดารา ศิลปิน หรือบุคคลสาธารณะควรจะระมัดระวังให้มากในการโพสต์อะไรก็ตามที่
นักข่าวอาจจะเขียนเป็นข่าวได้

แนวทางแก้ปัญหา
     - พยายามใช้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์  สไลด์การใช้เฟซบุ๊กอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถดูได้ที่ http://www.slideshare.net/krunapon/ss-7311643  เช่น ใช้รหัสผ่านที่เดายาก ใช้ https เพื่อไม่ให้ผู้อื่นลักลอบดูข้อมูลที่เราโพสต์  คิดให้ดีก่อนที่จะโพสต์อะไร ถ้าอะไรที่คิดว่าโพสต์แล้วทำให้คนใดคนอื่นเสียใจหรือเดือดร้อน อย่าโพสต์

                       https://www.facebook.com/jackrit101/posts/539556876111515?__mref=message_bubble

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทุนเรียนต่อประเทศไต้หวัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทุนเรียนต่อประเทศไต้หวัน
http://www.elearneasy.com/img_news_edu/7735_20101125p1.jpg

          เริ่มต้นจากปี ค.ศ. 2004 ที่มี 4 ตัวแทนภาครัฐของไต้หวันด้วยกันนั่นคือ กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education or MOE), กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs or MOFA), กระทรวงเศรษฐกิจ (Ministry of Economic Affairs or MOEA) และ National Science Council of the Executive Yuan (NSC) รวมกันก่อตั้งโครงการทุนการศึกษาไต้หวันเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาต่อที่ไต้หวัน
     MOFA Scholarship
          1.ผู้ที่ได้รับทุนจะต้องมาจากประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน หรือประเทศที่มีการทูตที่ดีกับ MOFA
          2.การทูตไต้หวันกำหนดไว้ให้ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโทต้องเข้าเรียนหลักสูตรภาษาจีนเบื้องต้น(Pre-degreeMandarin Language) Enrichment Program or LEP) เพื่อปรับพื้นฐานภาษาจีนในการใช้ชีวิตประจำวัน
          3.จำนวนของทุนการศึกษา: ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดไป-กลับหนึ่งใบ พร้อมทั้งค่าใช้จ่ายรายเดือนๆละ NTD 30,000 (หรือประมาณ USD930)
ในทุกปี Taiwan ICDF (กระทรวงต่างประเทศไต้หวัน) จะมีการให้ทุนการศึกษา โดยทุนการศึกษาดังกล่าวครอบคลุมค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
1.ค่าตั่วเครื่องบินไป-กลับ
2.ค่าหอพักในมหาวิทยาลัย
3.ค่าหน่วยกิตและค่ารรมเนียมการศึกษา
4.ค่าประกันสุขภาพ
5.ค่าหนังสือเล่าเรียน
6.เบี้ยเลี้ยงประจำเดือน
          ปิดรับสมัครทุนการศึกษาก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ของทุกปี  ทุกปีทุนการศึกษาจะมีการเปลี่ยนแปลงสาขาที่รับสมัครผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามหรือเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.icdf.org.tw
     MOE Scholarship
          1.ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจะต้องมาจากประเทศที่นอกเหนือจาก MOFA Scholarship
          2.ทางสำนักงานต่างประเทศของไต้หวันกำหนดไว้ให้ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโทต้องเข้าเรียนหลักสูตรภาษาจีนเบื้องต้น(Pre-degree) Mandarin Language Enrichment Program or LEP) เพื่อปรับพื้นฐานภาษาจีนในการใช้ชีวิตประจำวัน
          3.จำนวนของทุนการศึกษา: สำหรับระดับปริญญาตรีหรือ LEP จะได้รับค่าใช้จ่ายรายเดือนๆละ NTD 25,000 (หรือประมาณ USD 775) และสำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโทจะได้เดือนละ NTD 30,000
     MOEA Scholarship
          1.ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจะต้องมาจากประเทศที่นอกเหนือจาก MOFA Scholarship
หลักสูตรระดับปริญญาโทเท่านั้น
          2.จำนวนของทุนการศึกษา: ค่าใช้จ่ายรายเดือนๆละ NTD 30,000
     NSC Scholarship
          1.ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจะต้องมาจากประเทศที่นอกเหนือจาก MOFA Scholarship
หลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิชาฟิสิกส์, วิชาเคมี, คณิตศาสตร์, วิศวกรรม, การแพทย์และวิทยาศาสตร์การเกษตร และอื่นๆ)
          2.จำนวนของทุนการศึกษา: ค่าใช้จ่ายรายเดือนๆละ NTD 30,000

          นอกจากทุนการศึกษาของรัฐบาลไต้หวันแล้วยังมีทุนของมหาวิทยาลัยไต้หวันอีกจำนวนหนึ่งที่มอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาอีกด้วย ถ้าสนใจสอบถามเข้าไปดูในรายละเอียดเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่สนใจได้ โดยที่สามารถเข้าดูในรายชื่อมหาวิทยาลัยให้หน้า Universities in Taiwan ได้


http://www.scholarship.in.th/wp-content/uploads/2012/02/taiwan-scholarship.jpg


ที่มา http://www.tec.mju.ac.th/scholarship.html

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวัน




การดําเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากในอดีตมาก เหตุผลหนึ่งที่มี
บทบาทสําคัญในการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นคือ การเกิดขึ้นของเทคโนโลยี ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และการสะสมประสบการณ์ที่ทําให้มนุษย์คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจําวันเพื่ออํานวยความสะดวกสบายให้กับตนเอง ทําให้การดําเนินชีวิตง่ายขึ้น การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีไม่ได้หยุดอยู่ที่การอํานวยความสะดวกในชีวิตประจําวัน เทคโนโลยียังเข้ามามีบทบาทสําคัญในการผลิตสินค้าหรือการบริการ โดยช่วยอํานวยความสะดวกสบายในการทํางาน ช่วยให้มีความปลอดภัยในการทํางานมากขึ้น รวมไปถึง ช่วยให้สินค้ามีราคาที่ถูกลงด้วย เนื่องจากเทคโนโลยีทําให้การผลิตสินค้าในปริมาณมากทําได้โดยอุปกรณ์หรือเครื่องจักร ซึ่งช่วยธุรกิจลดต้นทุนค่าแรงงานลงได้จํานวนมากถึงแม้จะต้องเพิ่มต้นทุนของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรโดยเฉลี่ยแล้วก็ยังมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำลง
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่สําคัญที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ซึ่งได้รับการคิดค้นและ
พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยลําดับ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้นมากในขณะที่ราคาเมื่อเทียบกับขีดความสามารถกลับถูกลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้มีการนําคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลเพื่อควบคุมเครื่องจักร การประมวลผลเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ ทั้งยานอวกาศ เรือดําน้ำ หรือ รถยนต์ส่วนบุคคล ตลอดจนการประมวลผลข้อมูลปริมาณมากและหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประเภทข้อความ ตัวเลข ข้อมูลภาพ หรือ แม้กระทั่งข้อมูลเสียง เพื่อช่วยในการจัดการกับงานที่ต้องการประมวลผลข้อมูลเพื่อใช้ในควบคุมงานหรือใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
นิยามศัพท์
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง เทคโนโลยีสําหรับการประมวลผลข้อมูล
เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การคํานวณผล และการค้นคืนสารสนเทศ
     เทคโนโลยี(Technology)คือ การนําความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์เพื่อช่วยในการทํางานหรือแก้ปัญหาต่างๆ อันก่อให้เกิด วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร หรือ แม้กระทั่งองค์ความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เหมาะสม เพื่ออํานวยความสะดวกในการดําเนินชีวิตของมนุษย์
     ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายต่อการนําไปใช้งาน ซึ่งข้อมูลนั้น อาจจะอยู่ในหลายรูปแบบแล้วแต่ความจําเป็นของการนําไปใช้งาน เช่น ตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งข้อมูลที่มีการผสมผสานข้อมูลทุกประเภทที่กล่าวถึง มักถูกเรียกรวมว่า ข้อมูลมัลติมีเดีย
     สารสนเทศ(Information)คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อนําเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมมีความหมายและสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ตัวอย่างการประมวลผลข้อมูล เช่น
การจัดกลุ่มข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การสรุปข้อมูล
  เมื่อเราได้รู้เกี่ยวกับนิยามของศัพท์ที่ควรรู้แล้ว เราจะรู้ได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ถูกนํามาประยุกต์ในเกือบทุกด้าน เช่น ด้านการศึกษา ด้านบันเทิง ด้านการค้าด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรกรรม ด้านการสาธารณสุข และด้านสังคมและการเมือง จะเห็นได้ว่า เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนขั้นตอนหรือกระบวนการในการทํากิจกรรมยุคปัจจุบันล้วนแต่มีส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งในทางตรงหรือทางอ้อมด้วยเกือบทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น

https://bee2535.files.wordpress.com/2012/08/231.jpg

โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
เพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และ ส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้ เห็นอยู่ตลอดเวลา รูปแสดงการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม เราลองจินตนาการดูว่า เราเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อ ตื่นนอนเราอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือเพลงไปทั่ว เราใช้ โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน ดูรายการทีวี วีดีโอเมื่อมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบ ไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าไปศูนย์การค้า ขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนซึ่งควบคุมการ ทํางานด้วยคอมพิวเตอร์ ที่บ้านของเรา เราอาจอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุม อุณหภูมิโดยอัตโนมัติ คุณแม่บ้านทําอาหารด้วยเตาอบซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซักผ้าด้วย เครื่องซักผ้า จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทํางานสดงเครื่องอานวยความสะดวกภายในบ้าน ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัว รูปกันสร้างเมือง และ สังคมเมืองทําให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต 

ที่มา:http://www.informatics.buu.ac.th/885101/chapters/chapter_1.pdf