วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ(3)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ management information system คือ
http://1.bp.blogspot.com/
MIS คืออะไร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง โดยที่เราจะเห็นว่า MIS จะ-ประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ
1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การมาไว้
ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วย
สนับสนุนการปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร
http://3.bp.blogspot.com/
          ดังนั้นถ้าระบบใดประกอบด้วยหน้าที่หลักสองประการ ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่หลักทั้งสองได้อย่างครบถ้วน และสมบูรณ์ ระบบนั้นก็สามารถถูกจัดเป็นระบบ MIS ได้ ระบบ MIS ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ MIS อาจสร้างขึ้นมาจากอุปกรณ์อะไรก็ได้ แต่ต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่หลักทั้งสองประการได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ แต่เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and  Designer ) จึงออกแบบระบบสารสนเทศให้มีคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการจัดการสารสนเทศ
ปัจจุบันขอบเขตการทำงานของระบบสารสนเทศขยายตัวจากการรวบรวมข้อมูลที่มาจากภายในองค์การไปสู่การเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งจากภายในท้องถิ่น ประเทศ และระดับนานาชาติ ปัจจุบันธุรกิจต้องใช้เทคโนโลยีสาร สนเทศที่มีศักยภาพ สูงขึ้นเพื่อสร้าง MIS ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถของธุรกิจ และขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารในยุคปัจจุบัน แต่ปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือคน ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในศักยภาพและขอบเขตของการใช้งานระบบสารสนเทศ (MIS) นอกจากนี้บุคลากรบางส่วนที่ขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้งานระบบสารสนเทศ ไม่ยอมเรียนรู้และเปิดรับการเปลี่ยนแปลง จึงให้ความสนใจหรือความสำคัญกับการปรับตัวเข้ากับ MIS น้อยกว่าที่ควร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ management information system คือ
http://it-grads.nida.ac.th/wordpress/wp-content/uploads/2014/09/MIS-Management-IT.jpg
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานทั้งระดับองค์การและอุตสาหกรรม ธุรกิจต้องการระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำรงอยู่และเจริญเติบโตขององค์การ โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่วนช่วยให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ และสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นในระดับสากล เพื่อให้การทำงานมีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องทำความเข้าใจถึงวิธีใช้งานและโครงสร้างของระบบสารสนเทศ สามารถสรุปส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ ได้ 3 ส่วน คือ
1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MISและช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกเครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศไว้ 2 ส่วน คือ
1.1      ฐานข้อมูล (Data Base)
ฐานข้อมูล จัดเป็นหัวใจสำคัญของระบบ MIS เพราะว่าสารสนเทศที่มีคุณภาพจะมาจากข้อมูลที่ดี เชื่อถือได้ ทันสมัย และถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นฐานข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบสารสนเทสมีความสมบูรณ์ และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 เครื่องมือ (Tools)
เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ปกติระบบสารสนเทศจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์หลักในการจัดการข้อมูล ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้
1.2.1 อุปกรณ์ (Hardware) คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย
             1.2.2 ชุดคำสั่ง (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการ เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการ บริหารงาน หรือการตัดสินใจ
2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล
การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้องมีการจัดลำดับ วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องการ
3. การแสดงผลลัพธ์
เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลผล ตามวิธีการแล้วจะได้ สารสนเทศ หรือMIS เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูป ตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และลักษณะของการนำไป ใช้งาน
คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยตนเองหรือให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้าดำเนินการ โดยการออกแบบและพัฒนา MIS ที่สอดคล้องตามหลักการ ระบบก็จะสามารถอำนวยประโยชน์ให้กับองค์การได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงคุณสมบัติที่สำคัญของ MIS ต่อไปนี้
1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล (Data Manipulation)
ระบบสารสนเทศที่ดีต้องสามารถปรับปรุงแก้ไขและจัดการข้อมูล เพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ปรกติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าสู่ MIS ควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารูปแบบ เพื่อให้ความทันสมัยและเหมาะสมกับการใช้งานอยู่เสมอ
2. ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security)
ระบบสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างขององค์การ ถ้าสารสนเทศบางประเภทรั่วไหลออกไปสู่ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน อาจทำให้เกิดความเสียโอกาสทางการแข่งขัน หรือสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการก่อการร้ายต่อระบบ จะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ขององค์กร
3. ความยืดหยุ่น (Flexibility)
สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจหรือสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสารสน เทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ระบบสารสนเทศที่ถูกสร้างหรือถูกพัฒนาขึ้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารได้อยู่เสมอ โดยมีอายุการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
4. ความพอใจของผู้ใช้ (User Satisfaction)
ปรกติระบบสารสนเทศ ถูกพัฒนาขึ้น โดยมีความมุ่งหวังให้ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ในงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ งาน ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้ใช้หันมาใช้ระบบให้มากขึ้น โดยการพัฒนาระบบต้องทำการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการ และพยายามทำให้ผู้ใช้พอใจกับระบบ เมื่อผู้ใช้เกิดความไม่พอใจกับระบบ ทำให้ความสำคัญของระบบลดน้อยลงไป ก็อาจจะทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนได้
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถจะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ทันต่อความต้องการ
2.ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบ สารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน เนื่องจากสารสนเทศถูกเก็บรวบรวมและจัดการ อย่างเหมาะสม ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จำชี้แนวโน้มของการดำเนินงานได้ว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด
3.ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลประกอบการประเมินสารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
4.ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาผู้บริหารสามารถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ อาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าข้อผิดพลาดในการทำงานเกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่
5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหาร วิเคราะห์ว่าการดำเนินงานในแต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไข หรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย
6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงาน จำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ
ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
กล่าวได้ว่าหน้าที่หลักของ MIS คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายใน และภายนอกองค์การมาไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม และจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อไปยังผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของผู้บริหารมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ การทำงานต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระบบย่อย ดังต่อไปนี้
1. ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System)หรือเรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การ โดยใช้เครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และสามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้อง
2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Report System)หรือเรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบและจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วการทำงานของระบบจัดออกรายงาน สำหรับการจัดการจะถูกใช้สำหรับการวางแผน การตรวจสอบ และการควบคุมการจัดการ
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System)หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปรกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure) และไม่มีโครงสร้าง (Nonstructure) ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญของ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหา และประมวลสารสนเทศ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System)หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย (OIS ) จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด หรือเราสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานในองค์การเดี่ยวกัน และระหว่างองค์กร รวมทั้ง การติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ
 


วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Review/แนะนำการใช้งาน1โปรแกรม

http://zaa.sanphun.co.th/images/support/support6102553171318.jpg
         
วันนี้เราจะมารู้จักโปรแกรมชนิดหนึ่งที่เรานิยมใช้มันในการติดต่อสื่อสาร ทุกคนคงจะไม่ทราบว่าโปรแกรมที่กล่าวถึงนั้นคืออะไร ถ้าอย่างนั้นเรามารู้จัก Gmail กันเถอะ
Gmail
คือ บริการฟรีอีเมล์ของเว็บไซต์ Google.com ซึ่งมีความพิเศษเหนือกว่าฟรีอีเมล์อื่นๆ ตรงที่ Gmail สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 2500 MB เลยทีเดียว รวมทั้งยังสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมรับ - ส่งอีเมล์อย่าง Outlook Express หรือ Microsoft Outlook ได้อีกด้วย
ทำยังไงถึงจะได้ใช้ Gmail ??
หากต้องการใช้ Gmail เราต้องให้คนที่ใช้ Gmail อยู่ก่อนแล้ว ทำการส่งอีเมล์ Invite(เชื้อ-เชิญ) มาหาเรา หรือ จะไปโพสของ Invite Gmail ก็ได้โดยคลิกที่นี่ เมื่อได้ Gmail มาเรียบร้อยแล้วเราต้องทำการสมัครเป็นสมาชิกเสียก่อน จึงจะสามารถใช้ Gmail ได้
ขั้นตอนการสมัคร
1. หลังจากที่มีคนส่ง Invite ให้เราแล้วจะพบว่ามีอีเมล์ส่งเข้ามาเชื้อเชิญ

2. เมื่อ คลิกเข้าไปที่ Link จะเป็นภาษาอังกฤษ สามารถเปลี่ยนการใช้งานเป็นภาษาไทยได้ ทางขวามือ
3. กรอกรายละเอียดในส่วนต่างๆ ให้เรียบร้อย
4. สามารถเช็คได้ว่า Login Name ที่เลือกใช้ ซ้ำกับรายชื่อสมาชิกที่มีอยู่เดิมหรือไม่ โดยคลิ๊กที่ปุ่ม “ Check availability ” ดังรูป
ถ้า Login Name ที่เลือกใช้ ซ้ำกับรายชื่อสมาชิกที่มีอยู่เดิม ให้เปลี่ยนอีเมล์ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจออีเมล์ที่ว่าง
5.หลังจากเสร็จสิ้นการสมัครสมาชิกแล้ว ผู้ใช้สามารถเข้า Sing in เพื่อเข้าใช้งานได้ที่ http://mail.google.com ก็จะพบหน้าต่างของการใช้งาน Gmail ดังภาพ

การใช้งานเบื้องต้น
1.การส่งจดหมาย ( Compose )
1. คลิกปุ่ม เขียนจดหมาย
2. ใส่ชื่ออีเมล์ของผู้รับ (1) > ใส่หัวข้ออีเมล์( 2) > พิมพ์เนื้อหาอีเมล์( 3) > ปรับแต่งข้อความ (4) > คลิกปุ่ม ส่ง เพื่อส่งอีเมล์ ( 5)
2. การรับและอ่านอีเมล์ (Receive)
1. คลิกที่ กล่องจดหมาย (1) > คลิกที่อีเมล์ที่ได้รับ( 2)
2. อ่านข้อความในจดหมาย
3. การตอบจดหมาย ( Reply and Reply All )
1. เมื่ออ่านอีเมล์เสร็จแล้วหากต้องการตอบกลับ คลิกปุ่ม ตอบ ( เป็นการตอบกลับไปยังเฉพาะผู้ส่ง
อีเมล์ฉบับนี้) หรือ Reply All ( เป็นการตอบกลับไปยังผู้ส่งอีเมล์ฉบับนี้และบุคคลทั้งหมดที่ได้รับอีเมล์ฉบับนี้)
2. พิมพ์ข้อความตอบกลับ( 1) > คลิกปุ่ม ส่ง เพื่อส่งอีเมล์( 2)
4. การส่งต่ออีเมล์ ( Forward )
1. เมื่ออ่านอีเมล์แล้ว หากต้องการ ส่งต่อข้อความนั้นๆ ให้บุคคลอื่น ให้เลือกที่ ส่งต่อ
2. ใส่อีเมล์ของผู้รับ( 1) > คลิกปุ่ม ส่ง (2)
5. การส่งสำเนา CC ( Carbon Copy )
เป็นการส่งสำเนาอีเมล์ให้แก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้รับในช่อง ถึง โดยให้ผู้ส่งใส่ E-mail ของผู้ที่ต้องการส่งสำเนาถึงในช่อง เพิ่ม Cc”
หรือจะคลิก เพิ่ม Cc” เพื่อเลือกรายชื่อเพื่อน จาก Address book ก็ได้ เมื่อเรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม ส่ง
6. การส่งสำเนาซ่อน BCC ( Blind Carbon Copy )
เป็นการส่งข้อความเหมือน  cc  แต่ใช้ในกรณีที่เราไม่ต้องการให้ผู้รับเมล์รู้ว่าเราส่งให้ใครบ้าง E-mail ที่ใส่ในช่องนี้จะถูกปิดเป็นความลับไว้ ใส่รายชื่ออีเมล์ที่ต้องการส่งถึง โดยการใส่อีเมล์แอดเดรสของเพื่อนในช่อง “ Bcc ” หรือจะคลิก เพิ่ม Bcc” เพื่อเลือกรายชื่อเพื่อน จาก Address book ก็ได้ เมื่อเรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม ส่ง
7. การลบอีเมล์ ( Delete Mail )
ก่อนอื่นผู้ใช้ต้องทำการคลิกเลือกอีเมล์ ที่ต้องการจะลบก่อน จากนั้นให้คลิกหัวข้อ การทำงานอื่นๆ และเลือก ย้ายไปถังขยะ
8. การจัดการ Address book
1. สามารแก้ไขข้อมูลรายชื่อของเพื่อนๆ ใน Address book โดยคลิกที่เมนู ที่อยู่ติดต่อ
2. เลือกอีเมล์ที่ต้องการแก้ไขข้อมูล โดยการ Click ที่ชื่อที่ต้องการแก้ไข
3. เลือก แก้ไขข้อมูลที่ติดต่อ ดังรูป
4. สามารถแก้ไขรายละเอียดได้ทันที
•  แก้ไขชื่อ ตามที่ต้องการ
•  แก้ไข E-mail Address
•  สามารถใส่รายละเอียดเพิ่มเติม
•  สามารถใส่รายละเอียดของข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เพิ่มข้อมูลที่อยู่ติดต่อ เรียบร้อยแล้วกด บันทึก
9. การเพิ่มอีเมล์ใน Address Book
1. สามารถเพิ่มอีเมล์เพื่อนได้ที ที่อยู่ติดต่อ
2. เลือก เพิ่มที่ติดต่อ
3. ใส่รายละเอียดของอีเมล์คลิกปุ่ม บันทึก
10.การค้นหาอีเมล์ใน Address Book
ใส่ชื่ออีเมล์ หรือ คำที่ต้องการค้นหา จากนั้นคลิกปุ่ม ค้นหาจดหมาย
11. จัดการ Spam ( Junk Mail )
เลือกอีเมล์ที่ผู้ใช้ไม่ต้องการ คลิก รายงาน จดหมายขยะ
12. การทำลายเซ็น (Signature)
เลือก การตั้งค่า ใส่ชื่อของเราหรือข้อความที่ต้องการ จากนั้นกด บันทึกการเปลี่ยนแปลง
13. การส่ง Invite Gmail (บัตรเชิญ) ให้เพื่อน
สำหรับเพื่อนที่ต้องการอยากเชื้อเชิญให้เพื่อนๆ มาเล่น Gmail เราก็เพียงเชื้อเชิญเค้ามาสมัคร โดยการใส่ E-mail Address ของเพื่อนในช่อง เชิญเพื่อน เมื่อเรียบร้อยแล้วกด ส่งคำเชิญ
14. ตรวจสอบขนาดพื้นที่ Mailbox
สามารถดูได้จาก ด้านล่างของ Mail ว่าใช้พื้นที่ไปแล้ว เป็นจำนวนเท่าใด
15. ป้ายกำกับ
สามารถเพิ่มป้ายกำกับได้ที่ ป้ายกำกับ (1) > ใส่ ข้อความ หรือ ชื่อ ที่ผู้ใช้ต้องการให้เป็น ป้ายกำกับ (2) > คลิก บันทึกการเปลี่ยนแปลง (3)
รูปแสดงตัวอย่างการใช้ ป้ายกำกับ
16. ติดดาว
เลือกอีเมล์ที่ผู้ใช้ต้องการ ติดดาว (1) > จากนั้นให้คลิกหัวข้อ การทำงานอื่นๆ และเลือก เพิ่มดาว (2)
รูปแสดงตัวอย่างการใช้ ติดดาว


ที่มา http://www.kapook.com/google/gmail/

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

https://supawannuannil.files.wordpress.com/

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล เป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมูล/สารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข่าวสารผ่านสื่อกลาง เพื่อส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ
ส่วนประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล (Components of Data Communication System)
-ข่าวสาร (Message) ข้อมูลหรือสารสนเทศที่อาจเป็นข้อความ ตัวเลข เสียง และวิดีโอ
-ผู้ส่ง (Sender/Source) อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข่าวสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
-ผู้รับ (Receiver/Destination) อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข่าวสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
-สื่อกลางส่งข้อมูล (Transmission Medium) เช่น สายไฟเบอร์ออปติก หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
-โพรโทคอล (Protocol) กลุ่มของกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้การสื่อสารบรรลุผล
การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication)
การสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง การสื่อสารระยะไกล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Transmitters) เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบการสื่อสารโทรคมนาคมในยุคปัจจุบันถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติเป็นอย่างมาก โดยจะพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนแต่มีระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ก้าวหน้าและทันสมัย ที่มีส่วนสำคัญต่อการผลักดันธุรกิจต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโลกในยุคนี้ทีเดียว
ความหมายของเครือข่าย
ในส่วนของ เครือข่ายหมายถึง เครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันในระยะใกล้ภายในพื้นที่เดียวกัน (Local) กับเครือข่ายที่เชื่อมโยงแบบระยะไกล (Remote) โดยเฉพาะเครือข่ายที่เชื่อมโยงแบบระยะไกลนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาช่องทางการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลระยะไกลได้
ตัวอย่างของการสื่อสารโทรคมนาคม
-โทรเลข (Telegraphy)
-โทรสาร (Facsimile)
-โทรศัพท์ (Telephone)
-โทรทัศน์ (Television)
-วิทยุกระจายเสียง (Radio)
-ไมโครเวฟ (Microwave)
-ดาวเทียม (Satellite)
https://boonyaratppt.files.wordpress.com/
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำกลุ่มคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย โดยใช้สื่อกลางซึ่งเป็นสายเคเบิลหรือคลื่นวิทยุเป็นเส้นทางการลำเลียงข้อมูลเพื่อสื่อสารระหว่างกัน และการที่เครือข่ายสามารถเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวได้ก็เพราะระบบปฏิบัติการเครือข่าย ซึ่งจัดเป็นซอฟต์แวร์ระบบที่สำคัญที่นำมาใช้เชื่อมโยงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เข้าด้วยกัน และทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรบนเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานทรัพยากรร่วมกันบนเครือข่ายได้อย่างสะดวก

ก่อนจะเป็นเครือข่าย
Sneaker หมายถึง รองเท้าของบุคคลที่เดินไปคัดลอกสำเนาข้อมูล ดังนั้น Sneaker จึงหมายถึงเครือข่ายที่ใช้บุคคลในการเดินเท้าเพื่อถ่ายโอนข้อมูลนั่นเอง อย่างไรก็ตาม Sneakernet นั้นเป็นคำเปรียบเปรยเชิงล้อเล่นมากกว่าที่จะนำไปใช้เป็นศัพท์เชิงทางการ
ประโยชน์ของเครือข่าย
-การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
-ช่วยลดต้นทุน
-เพิ่มความสะดวกในด้านการสื่อสาร
-ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของระบบ
http://www.thaigoodview.com/files/u9021/lmw.jpg
 ประเภทของเครือข่าย (Categories of Networks)
https://webppom.files.wordpress.com/2011/09/p0.jpg
เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN)
เครือข่ายท้องถิ่นเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ที่มีการลิงค์เชื่อมโยงระหว่างพีซีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานร่วมกัน เครือข่ายท้องถิ่นอาจมีเพียงพีซีคอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่องเพื่อใช้งานตามบ้านเรือน หรือเชื่อมโยงพีซีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยเครื่องสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ โดยจะครอบคลุมระยะทางไม่กี่กิโลเมตร
เครือข่ายท้องถิ่นหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า เครือข่ายแลน นั้น ได้รับการออกแบบมาเพื่ออนุญาตให้สามารถแชร์ทรัพยากรบนเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น การแชร์ข้อมูล โปรแกรม และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
http://3.bp.blogspot.com/
เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network: MAN)
เป็นเครือข่ายที่มีขนาดระหว่างเครือข่ายแลนและเครือข่ายแวน ซึ่งปกติจะครอบคลุมพื้นที่ภายในเมืองหรือจังหวัด โดยเป็นเครือข่ายที่ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อใช้งานเพื่อการสื่อสารความเร็วสูง
https://sirirat53.files.wordpress.com/2013/01/wan.jpg
เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network: WAN)

เครือข่ายระดับประเทศหรือเครือข่ายแวนสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ระยะไกล  สามารถสื่อสารข้ามประเทศหรือข้ามทวีปได้ เครือข่ายแวนอาจมีสายแกนหลักจำนวนมากกว่าหนึ่งเส้นที่นำไปใช้เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
นอกจากขนาดของเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยงได้ไกลข้ามประเทศอย่างเครือข่ายแวนแล้ว สื่อส่งข้อมูลที่ใช้ในเครือข่ายแวนก็มีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ สายเคเบิล รวมถึงการสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น
https://gunoon75.files.wordpress.com/2010/09/e0b894.gif
อินเทอร์เน็ต (The Internet)
อินเทอร์เน็ตจัดเป็นเครือข่ายสาธารณะ (Public Network) ที่ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำ-เนินชีวิตปัจจุบันของมนุษย์ในยุคนี้ จึงทำให้รูปแบบธุรกิจเดิมที่เคยดำเนินการอยู่ จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบด้วยการใช้ช่องทางการจำหน่ายผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างทางเลือกและความสะดวกในด้านการบริการแก่ลูกค้า โดยลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางเว็บไซต์ ทั้งนี้มิได้จำกัดเพียงลูกค้าภายในประเทศ แต่นั่นหมายถึงลูกค้าทั่วโลกที่สามารถเข้าใช้บริการนี้ผ่านทางเว็บไซต์
อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายที่หลากหลาย ดังนั้นอุปกรณ์ที่เรียกว่า เร้าเตอร์ (Router) จึงถูกนำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายเข้าด้วยกัน เร้าเตอร์จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทีเดียว เพื่อใช้สำหรับกำหนดเส้นทางบนเครือข่าย
นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีค่อนข้างหลากหลายและอาจมีแพลตฟอร์ม (Platform) ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรมของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้อุปกรณ์อย่าง เกตเวย์ (Gateway) จึงถูกนำมาใช้งานเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระบบแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงสามารถสื่อสารร่วมกันเป็นเครือข่ายเดียวกันได้
http://1.bp.blogspot.com/
การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Networks-Basic Configurations)
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในมุมมองเชิงกายภาพ ที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อในลักษณะต่าง ๆ และโดยปกติเราสามารถพบเห็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในมุมมองต่าง ๆ ได้จากการสังเกตตามองค์กรหรือหน่วยงาน หรือจากการใช้งานประจำวันไม่ว่าจะที่บ้าน สำนักงาน หรือสถาบันการศึกษา โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ มีดังนี้
1. ไมโครคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายท้องถิ่น (Microcomputer-to-LAN Configurations)
เราสามารถพูดได้ว่าในปัจจุบันนี้ การเชื่อมต่อไมโครคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของเครือข่ายท้องถิ่นนั้น สามารถพบเห็นได้ตามสำนักงานทั่วไป ทั้งนี้เครือข่ายท้องถิ่นจัดเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมสำหรับการแชร์ใช้งานโปรแกรม ข้อมูล และอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี
ด้วยอัตราการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ และการนำมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายท้องถิ่นจำนวนมาก จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเครือข่ายท้องถิ่นมีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลสูงคือ ตั้งแต่ 100 เมกะบิตต่อวินาที (100 Mbps) จนถึงระดับกิกะบิตต่อวินาที (1 Gbps)
2. ไมโครคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต (Microcomputer-to-Internet Configurations)
จากการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และกระแสการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ตามบ้านพักอาศัยมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้นการนำไมโครคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงมีอัตราสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้ตามบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีระบบ ADSL ที่กลุ่มลูกค้าตามบ้านพักอาศัยสามารถมีทางเลือกในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ โดยอัตราความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลมีได้ตั้งแต่ Mbps แต่การใช้บริการระบบ ADSL ได้นั้น บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะต้องมีการติดตั้งระบบดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการใช้งานด้วย ลูกค้าตามบ้านักอาศัยจึงสามารถใช้บริการได้ ที่สำคัญการบริการ ADSL จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน และสามารถเชื่อมโยงใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3. เครือข่ายท้องถิ่นกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (LAN-to-Internet Configurations)
อุปกรณ์ที่เรียกว่า เร้าเตอร์ (Router)” จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะต้องนำมาใช้เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายทั้งสอง ถึงแม้ว่าอุปกรณ์สวิตช์หรือบริดจ์จะสามารถนำมาใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายได้เช่นกัน แต่หลักการทำงานจะแตกต่างกัน โดยเฉพาะเร้าเตอร์จะมีขีดความสามารถในการจัดการเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่รับส่งกันระหว่างเครือข่ายจำนวนมากที่เชื่อมต่อกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี และมีหลักการทำงานที่ซับซ้อนกว่าอุปกรณ์อย่างบริดจ์และสวิตช์
4. ดาวเทียมและไมโครเวฟ (Satellite and Microwave)
เทคโนโลยีดาวเทียมและไมโครเวฟ จัดเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมและนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากระยะทางระหว่างสองเครือข่ายไกลกันมาก และยากต่อการเดินสายสัญญาณเพื่อเชื่อมต่อระหว่างกัน หรือแทบจะเชื่อมโยงผ่านสายไม่ได้เลยเนื่องจากปัญหาด้านภูมิศาสตร์ ดังนั้นการส่งผ่านข้อมูลด้วยการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและไมโครเวฟจึงเป็นแนวทางหนึงที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งสองให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการนำมาประยุกต์ใช้เพื่องานแพร่ภาพทีวีผ่านดาวเทียม โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ GPS และวิดีโอคอนเฟเร็นซ์
5. โทรศัพท์ไร้สาย (Wireless Telephone)
ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คที่นำมาใช้เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ไร้สายผ่านสายเคเบิล-   หรือบลูทูธ (Bluetooth) การส่งผ่านข้อมูลจากโทรศัพท์ไร้สายที่เชื่อมต่อกับโน๊ตบุ๊ค จะส่งไปยังศูนย์กลางโทรศัพท์ไร้สาย (Wireless Telephone Switching Center) ซึ่งศูนย์กลางนี้เองจะทำหน้าที่ช่วยในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโน๊ตบุ๊คผ่านโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ รวมถึงการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ที่มา http://www.skcc.ac.th/elearning/network/?p=5